เกมแอนิเมเตอร์

(Game Animator)

job-detail-main-img

เกมแอนิเมเตอร์

การที่ตัวละครในเกมสามารถเคลื่อนไหว เดิน วิ่ง หรือกระโดดและทำท่าทางต่างๆ ได้อย่างสวยงาม ล้วนเกิดขึ้นจากฝีมือของ เกมแอนิเมเตอร์ (Game Animator) ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานสามมิติให้สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยต่อยอดงานจาก Game Artist ที่มีการวาดภาพกราฟิก 2D และ 3D ออกมา ด้วยการใช้โปรแกรมออกแบบใส่เทคนิคต่างๆ เข้าไปให้ตัวละครแต่ละตัวในเกมเคลื่อนไหวและมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้สมจริงตามจินตนาการ เรียกได้ว่า Game Animator เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ปลุกชีวิตให้เกม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สนุก ตื่นเต้น ให้กับผู้เล่น

คุณสมบัติและทักษะ (Skill)

Game Animator เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อสร้างสรรค์ให้ภาพ วัตถุ หรือองค์ประกอบต่างๆ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสมจริง ซึ่งต้องอาศัยทักษะดังต่อไปนี้

job-detail-skill-img1
มีความชื่นชอบเกม

ส่วนใหญ่คนที่ทำงานในวงการเกมจะชื่นชอบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเกมและการเล่นเกมเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในรูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของเกม เข้าใจถึงองค์ประกอบของเกมในแต่ละประเภท จึงทำให้สามารถทำงานด้วยความเข้าใจและยังสร้างเสน่ห์ให้กับการทำแอนิเมชันในเกมได้เพิ่มขึ้นด้วย

job-detail-skill-img1
มีความรู้เรื่องการออกแบบแอนิเมชัน

ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นของการทำงานในสายอาชีพนี้ เนื่องจากจะต้องใช้ความรู้และวิธีการออกแบบต่างๆ มาใช้ในการทำงาน เช่น กฎ 12 ข้อของแอนิเมชัน (หลักวิธีการขึ้นรูปแอนิเมชัน) ซึ่งเป็นหลักในการทำให้ภาพเคลื่อนไหวมีความน่าสนใจ

job-detail-skill-img1
เชี่ยวชาญการใช้โปรแกรมแอนิเมชัน

ทักษะนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ Game Animator เพราะควรที่จะรู้จักวิธีการใช้โปรแกรมสร้างรูปภาพธรรมดาทั้งแบบ 2D และ 3D ให้เคลื่อนไหวได้ โดยโปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ 3D Max และ MAYA

บุคลิกลักษณะ (Character)

job-detail-character-img

มีความชื่นชอบเกมและการ์ตูน โดยไม่จำกัดเฉพาะแค่เกมหรือการ์ตูนแนวแอนิเมชันเท่านั้น

มีความตั้งใจสูง เพราะต้องใช้เวลานานในการผลิตผลงาน

ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทดลองทำ

เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะต้องทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ

เปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ชอบศึกษาหาความรู้ และสนใจสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว

บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)

ค้นคว้าหาข้อมูลและแรงบันดาลใจ

เพื่อให้ผลงานมีความแปลกใหม่และน่าสนใจ

ประชุมทีม

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงาน

ทำแอนิเมชัน

ระยะเวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับขนาดของงาน ตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 1 ปี

job-detail-role-img
รายได้ (Income)

รายได้เฉลี่ย 15,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน หากเป็นพนักงานประจำจะได้รับเงินเดือนที่คงที่ในแต่ละเดือน โดยเรทรายได้สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ จะมีรายได้อยู่ที่ 15,000-25,000 บาทต่อเดือน และรายได้จะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆ จะเหมือนกับพนักงานบริษัททั่วไป เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ การอบรมทักษะต่างๆ เป็นต้น แต่หากรับงานอิสระ (freelance) จะไม่ได้รับเงินเดือน แต่มีรายได้จากการออกแบบงานเป็นชิ้นหรือเป็นโปรเจกต์ ซึ่งรายได้เฉลี่ยของอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งความสามารถและประสบการณ์

คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ

LV1

รู้จักตัวเองว่าชอบอะไร ควรสำรวจตัวเองว่าเป็นคนที่มีความสนใจเรื่องการออกแบบ การทำงานที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องใช้ความคิดเยอะ และมีความสนใจโลกของเกมและการ์ตูนซึ่งทำให้ได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมากหรือไม่ หลังจากนั้นจึงมาสู่ขั้นตอนของการศึกษาและวางแผนในการประกอบอาชีพนี้

LV2

สร้างพื้นฐานความรู้ ด้วยการเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เทคโนโลยีการสร้างแอนิเมชัน เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้

LV3

เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการลงมือทำ เริ่มจากร่างภาพตัวละครตามความคิดและจินตนาการ แล้วลองนำมาปรับให้เป็นภาพเคลื่อนไหว โดยหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์ หรือ Youtube เพื่อฝึกฝนการทำไปเรื่อยๆ

jump
LV3

เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการลงมือทำ เริ่มจากร่างภาพตัวละครตามความคิดและจินตนาการ แล้วลองนำมาปรับให้เป็นภาพเคลื่อนไหว โดยหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์ หรือ Youtube เพื่อฝึกฝนการทำไปเรื่อยๆ

LV2

สร้างพื้นฐานความรู้ ด้วยการเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เทคโนโลยีการสร้างแอนิเมชัน เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้

LV1

รู้จักตัวเองว่าชอบอะไร ควรสำรวจตัวเองว่าเป็นคนที่มีความสนใจเรื่องการออกแบบ การทำงานที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องใช้ความคิดเยอะ และมีความสนใจโลกของเกมและการ์ตูนซึ่งทำให้ได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมากหรือไม่ หลังจากนั้นจึงมาสู่ขั้นตอนของการศึกษาและวางแผนในการประกอบอาชีพนี้

แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน

ทักษะของอาชีพ Game Animator ที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะทางด้านแอนิเมชัน และทักษะทางด้านเกม ซึ่งจะศึกษากฎเกณฑ์พื้นฐานของเกม รายละเอียดเชิงลึกและกระบวนการผลิตเกม โดยมีสาขาที่เปิดสอนเฉพาะในทั้ง 2 ด้าน ดังนี้

• ด้านแอนิเมชัน

- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    - คณะดิจิทัลมีเดีย

    • สาขาวิชา/ภาควิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน

    - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการออกแบบ

    • สาขาวิชา/ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ

    - วิทยาลัยศิลปะ

    • สาขาวิชาแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์

    • ด้านเกม

    - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    • สาขาวิชา/ภาควิชาเทคโนโลยีมีเดีย

    • สาขาวิชา/ภาควิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรม

    - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

    • สาขาวิชา/ภาควิชาคอมพิวเตอร์เกมและมัลติมีเดีย

    • สาขาการพัฒนาสื่อประสมและเกม

    job-detail-recommend-img