นักพัฒนาเกม

(Game Developer)

job-detail-main-img

นักพัฒนาเกม

เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตเกมออกสู่ตลาด โดยมีหน้าที่สร้างและพัฒนาระบบเกมในส่วนของการเขียนโปรแกรมและการเขียนโค้ด (coding) ต่างๆ เช่น การทำให้ภาพเคลื่อนไหวของเกมที่ออกแบบโดย Game Animator มีระบบวิธีการเล่นตามที่เขียนโปรแกรมไว้ การอัปเดตเวอร์ชันเกมให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขระบบโปรแกรมภายในเกมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเทคนิคในการสร้างเกมแล้ว ยังต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเกมให้มีความสมจริงอีกด้วย

คุณสมบัติและทักษะ (Skill)

Game Developer ต้องอาศัยทักษะที่จำเป็นคือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น การเขียนโปรแกรม การเขียนโค้ด (coding) และต้องเข้าใจภาษาทางด้านการเขียนโปรแกรมและซอฟท์แวร์ต่างๆ เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมให้เกมสามารถเล่นได้ตามหลักการที่กำหนดไว้จาก Game Designer และเพื่อให้การทำงานของเกมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและดูสมจริง สำหรับทักษะที่จำเป็น ได้แก่

job-detail-skill-img1
เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์

พื้นฐานสำคัญของการเป็น Game Developer คือ ต้องใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเชี่ยวชาญจนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเครือข่าย (network) ของคอมพิวเตอร์หรือฐานข้อมูลภายในตัวเกม

job-detail-skill-img1
ทักษะด้านการเขียนโปรแกรม

ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการทำวัตถุภายในเกม และรู้จักการใช้ระบบที่สามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวได้ อีกทั้งยังต้องใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนโปรแกรม โดยส่วนใหญ่ภาษาที่ใช้ในด้านเกม ได้แก่ ภาษาซีชาร์ป (C#) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงสร้างคำสั่ง ภาษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นต้น

job-detail-skill-img1
ทำงานเป็นทีมได้

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะในการพัฒนาเกมแต่ละเกมต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

job-detail-skill-img1
มีความสามารถในการสื่อสาร

ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จ เพราะ Game Developer จะต้องประสานงานและพูดคุยกับทีมต่างๆ เช่น Game Designer และ Director ให้เกิดความเข้าใจในงานที่ตรงกัน เช่น การอธิบายศัพท์เฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์ให้ทีมอื่นๆ เข้าใจ

บุคลิกลักษณะ (Character)

job-detail-character-img

ชื่นชอบเกม มีความสนใจเกี่ยวกับเกมและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

มีสมาธิและความตั้งใจทำงาน สามารถทำงานที่มีรายละเอียดซับซ้อนและวิเคราะห์วางแผนอย่างเป็นระบบ

มีจินตนาการ มีความคิดและจินตนาการใหม่ๆ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม

ทำงานเป็นทีมได้ สามารถสื่อสารความต้องการและรับฟังความเห็นของผู้อื่น

มีความตั้งใจสูง เพราะต้องใช้เวลานานในการผลิตผลงาน

บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)

ทดลองเล่นเกม (Tester)

เพื่อหาข้อผิดพลาดระหว่างการเล่นและวัดระดับความสนุกของเกม

พูดคุยปรึกษา

ร่วมกันกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนส่งต่อไปยังทีมทำงานต่อไป

สร้างเกม

พัฒนาต่อยอดจากเกมเดิมหรือสร้างเกมใหม่ที่แตกต่าง

job-detail-role-img
รายได้ (Income)

รายได้เฉลี่ย 25,000-100,000 บาทต่อเดือน รายได้จะเพิ่มขึ้นตามทักษะ ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆ จะเหมือนกับพนักงานบริษัททั่วไป เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ การอบรมทักษะต่างๆ เป็นต้น

คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ

LV1

ค้นหาตัวเองให้เจอ พื้นฐานของการทำงานในทุกอาชีพคือ สำรวจตัวเองว่านอกจากจะมีความชอบในเกมแล้ว ยังต้องมีความชอบในด้านเทคโนโลยี การเขียนโปรแกรม เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและการฝึกฝนทักษะในด้านการเขียนโปรแกรมจนเกิดความชำนาญ เพื่อให้มีพลังใจในการพยายามใฝ่หาความรู้ โดยอาจเริ่มต้นจากการหัดเขียนโปรแกรมเกมง่ายๆ ขึ้นมาก่อน เพื่อพิสูจน์ว่ามีความสุขกับงานนี้จริงๆ หรือไม่

LV2

ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ ศึกษาดูว่าอาชีพนี้ต้องมีทักษะความรู้อะไรบ้าง จะต้องพบกับการทำงานในรูปแบบไหน มีบริษัทไหนบ้างที่อยากเข้าไปร่วมงาน แนวทางการพัฒนาสายอาชีพตรงตามแผนอนาคตหรือไม่

LV3

ศึกษาด้านการเขียนโปรแกรม เนื่องจากอาชีพนี้อาศัยแค่มีใจรักและชื่นชอบในการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในด้านการเขียนโปรแกรม

LV4

ผลิตผลงานจริง ลงมือทำผลงานออกมา เช่น ลองออกแบบหรือต่อยอดเกมที่มีอยู่ในตลาดแล้ว โดยพิจารณาว่าอยากจะให้เกมเป็นอย่างไร มีจุดไหนในเกมที่ยังสามารถพัฒนาได้อีกบ้าง ซึ่งสิ่งที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา สามารถเก็บเป็น portfolio ไว้ได้ เพื่อเป็นใบเบิกทางของอาชีพนี้

jump
LV4

ผลิตผลงานจริง ลงมือทำผลงานออกมา เช่น ลองออกแบบหรือต่อยอดเกมที่มีอยู่ในตลาดแล้ว โดยพิจารณาว่าอยากจะให้เกมเป็นอย่างไร มีจุดไหนในเกมที่ยังสามารถพัฒนาได้อีกบ้าง ซึ่งสิ่งที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา สามารถเก็บเป็น portfolio ไว้ได้ เพื่อเป็นใบเบิกทางของอาชีพนี้

LV3

ศึกษาด้านการเขียนโปรแกรม เนื่องจากอาชีพนี้อาศัยแค่มีใจรักและชื่นชอบในการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในด้านการเขียนโปรแกรม

LV2

ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ ศึกษาดูว่าอาชีพนี้ต้องมีทักษะความรู้อะไรบ้าง จะต้องพบกับการทำงานในรูปแบบไหน มีบริษัทไหนบ้างที่อยากเข้าไปร่วมงาน แนวทางการพัฒนาสายอาชีพตรงตามแผนอนาคตหรือไม่

LV1

ค้นหาตัวเองให้เจอ พื้นฐานของการทำงานในทุกอาชีพคือ สำรวจตัวเองว่านอกจากจะมีความชอบในเกมแล้ว ยังต้องมีความชอบในด้านเทคโนโลยี การเขียนโปรแกรม เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและการฝึกฝนทักษะในด้านการเขียนโปรแกรมจนเกิดความชำนาญ เพื่อให้มีพลังใจในการพยายามใฝ่หาความรู้ โดยอาจเริ่มต้นจากการหัดเขียนโปรแกรมเกมง่ายๆ ขึ้นมาก่อน เพื่อพิสูจน์ว่ามีความสุขกับงานนี้จริงๆ หรือไม่

แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน

ทักษะที่ใช้ในการทำงานของ Game Developer ประกอบไปด้วย ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงทักษะทางด้านไอทีมัลติมีเดีย เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาเกม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้จากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม ดังนี้

• ด้านคอมพิวเตอร์

- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม

    - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    • สาขาวิชา/ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

    - คณะวิศวกรรมศาสตร์

    • สาขาวิชา/ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

    • ด้านไอทีและมัลติมีเดีย

    - คณะมัณฑนศิลป์

      - คณะศิลปกรรมศาสตร์

        - คณะวิทยาการสารสนเทศ

        • สาขาวิชา/ภาควิชานิเทศศิลป์

        - คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

        • สาขาวิชา/ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

        • สาขาวิชา/ภาควิชาการออกแบบสารสนเทศสามมิติ

        job-detail-recommend-img