เกมแคสเตอร์

(Game Caster)

job-detail-main-img

เกมแคสเตอร์

ในต่างประเทศอาจเรียกว่า Game Commentator คือ อาชีพด้านการผลิตสื่อในรูปแบบวิดีโอเพื่อเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ต่างๆ โดยบันทึกภาพขณะตัวเองกำลังเล่นเกม พร้อมทั้งมีการพูดคุยนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกมที่กำลังเล่นอยู่ ซึ่งเรียกว่า “การแคสเกม” สำหรับเนื้อหาหลักๆ ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ ได้แก่ การรีวิวแนะนำหรือวิจารณ์เกมที่กำลังป็นที่นิยม การสอนเทคนิคในการเล่นเกม การสอนภาษาอังกฤษหรือพูดคุยเรื่องต่างๆ ผ่านการใช้เกมเป็นสื่อกลาง เพื่อจุดประสงค์ในการให้ความบันเทิงกับผู้รับชม โดยมีการตัดต่อวิดีโอให้มีความน่าสนใจและน่าติดตามด้วยเทคนิคการใส่รูป เอฟเฟกต์ภาพและเสียงต่างๆ เพื่อมอบความบันเทิงและความสนุกสนานให้กับผู้รับชมได้ติดตาม โดยจำนวนผู้ติดตามรับชม (subscribers) จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสไตล์ ความสร้างสรรค์ในการผลิตวิดีโอให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำนวน subscribers ยังเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับรายได้อีกด้วย อาชีพ Gamecaster สามารถฝึกฝนและพัฒนาตัวเองได้ เนื่องจากไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนและกำลังเป็นอาชีพทางเลือกที่มาแรงสำหรับคนรุ่นใหม่ที่รักการเล่นเกม และมีทักษะในการตัดต่อวิดีโอ

คุณสมบัติและทักษะ (Skill)

อาชีพ Gamecaster เป็นอาชีพที่ต้องอยู่หน้ากล้อง เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ผ่านการเล่นเกมและการพูดให้น่าสนใจและชวนให้ติดตามรับชม โดยต้องอาศัยความมีเอกลักษณ์และบุคลิกภาพที่โดดเด่นเฉพาะตัว รวมทั้งความเข้าใจในการนำเสนอเรื่องราวออกมาในรูปแบบของวิดีโอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะสำคัญ ดังนี้

job-detail-skill-img1
ทักษะในการพูดและสื่อสารให้เข้าใจ

การใช้คำพูดและน้ำเสียงประกอบกับความสามารถในการเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของการประกอบอาชีพนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ การพูดให้ผู้ชมรู้สึกสนุกเพลิดเพลินชวนให้ติดตาม โดยการแสดงสีหน้า อารมณ์ การเลือกใช้น้ำเสียงและคำพูด เทคนิคการพูดที่สำคัญคือ เปล่งเสียงออกมาให้ชัดเจน เต็มเสียง ฉะฉาน ฟังแล้วเข้าใจง่าย โดยไม่พูดงึมงำอยู่ในลำคอ และสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ การเลือกใช้คำพูดที่เหมาะกับกลุ่มผู้ฟังซึ่งจะทำให้สร้างความเชื่อมโยงได้ง่าย

job-detail-skill-img1
การตัดต่อวิดีโอให้มีความน่าสนใจ

เป็นทักษะจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ควบคู่กับความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโออยู่บ้าง โดยเลือกโปรแกรมการตัดต่อที่เหมาะกับความถนัดของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก และพยายามเรียนรู้การใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การใส่ภาพประกอบ เอฟเฟกต์ต่างๆ การใส่ข้อความ หรือการเพิ่มเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหามีสีสันและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

job-detail-skill-img1
มีความคิดสร้างสรรค์

ทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มแคสเกมหรือตัดต่อวิดีโอ Gamecaster ควรจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อคิดวางแผนรูปแบบการนำเสนอวิดีโอว่าต้องการที่จะสื่อสารเรื่องอะไร ผู้รับชมจะได้รับรู้อะไรจากวิดีโอนี้ โดยจินตนาการหรือคิดภาพในหัวก่อนว่าจะตัดต่อแบบไหน ใส่เอฟเฟกต์อะไร เพื่อที่จะเพิ่มลูกเล่นให้กับวิดีโอ ซึ่งจะช่วยทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและผลงานออกมาน่าสนใจ ความคิดสร้างสรรค์จะทำให้มีรูปแบบวิดีโอที่หลากหลายไม่ซ้ำแบบใคร จะช่วยให้มีจำนวนผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้น

บุคลิกลักษณะ (Character)

job-detail-character-img

กล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าทำ ไม่เขินอาย

สนุกสนาน หยอดมุก ตลก เฮฮา

มีความมั่นใจในตัวเอง เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดและทำ

วางตัวอย่างเหมาะสมบนโซเชียลมีเดีย อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ

สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสไตล์เป็นของตัวเอง

บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)

ตัดต่อวิดีโอ

และอัปโหลดวิดีโอ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ศึกษาข้อมูลเกมและอัปเดตข่าวสาร

ทำความเข้าใจในตัวเกมและคอยอัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับเกมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เล่นเกมหรือแคสเกม

ประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อครั้ง

job-detail-role-img
รายได้ (Income)

รายได้เฉลี่ย 40,000-500,000 บาทต่อเดือน โดยตัวกำหนดรายได้ของ Gamecaster มีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ จำนวน subscribers และสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบกับคุณภาพของวิดีโอที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ โดยมีที่มาของรายได้ ดังนี้

  1. รายได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Youtube Facebook หรือ Twitch ตามอัตรารายได้ ซึ่งคำนวณจากจำนวน subscribers และจำนวนผู้รับชมวิดีโอแต่ละตัว หากผู้ชมมีจำนวนมากก็จะทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีส่วนแบ่งค่าโฆษณาที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ หรือเงินเดือนในกรณีที่จ้างเป็นสัญญาให้ลงวิดีโอเฉพาะแพลตฟอร์ม ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องขึ้นกับสังกัดใด สามารถสร้างผลงานขึ้นมาเองได้
  2. ค่าจ้างจากการโฆษณา Gamecaster จะได้รับการว่าจ้างให้โปรโมทสินค้า และบริการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย โดยได้รับค่าจ้างจากการโฆษณสินค้านั้นๆ เป็นเงินเดือนหรือเป็นครั้ง ขึ้นอยู่กับข้อตกลง
  3. รายได้จากการสนับสนุนหรือบริจาค โดยได้รับจากผู้ชมที่ชื่นชอบผลงาน ซึ่งจ่ายให้ Gamecaster โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
  4. ค่าจ้างในการเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าหรือการออกงาน Event โดยส่วนมากจะมีการจ้างงานเป็นครั้งคราว ซึ่ง Gamecaster ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมจะได้รับการว่าจ้าง

คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ

LV1

ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ก่อนที่จะทำคลิปวิดีโอ ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องเกมและค้นหาประเด็นเกี่ยวกับเกมที่ตัวเองสนใจจะใช้เป็นเนื้อหา ซึ่งสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจากอินเทอร์เน็ตหรือจาก Youtube จากทั้งของไทยและต่างประเทศ เพราะจะได้รับความรู้จากเนื้อหาที่หลากหลายและครอบคลุมมากกว่า เช่น บางครั้งอาจจะนำสไตล์จากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับการสร้างวิดีโอของตัวเอง

LV2

วางกลยุทธ์ วางรูปแบบการนำเสนอ Gamecaster จำเป็นต้องคิดเนื้อหา (Content) หรือรูปแบบการนำเสนอคลิปวิดีโอว่า จะพูดอะไรกับผู้ชม จะให้ผู้ชมได้เห็นหรือรับรู้เรื่องราวแบบใด จะทำคลิปออกมาแนวไหน และจะเล่นเกมอะไรเพื่อเป็นสื่อกลาง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สร้างเนื้อหาในรูปแบบที่ชอบและถนัด ที่สุดในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจจะศึกษาสไตล์การทำคลิปวีดิโอของ Gamecaster คนอื่น แล้วนำเทคนิคมาปรับใช้ก็ได้

LV3

อย่ารีรอ ทำเลย เมื่อคิดที่จะทำแล้วก็ให้เริ่มลงมือทำเลย ถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะยังไม่ครบ แต่หากต้องการเริ่มต้น สามารถเริ่มจากการใช้สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่โดยไม่ต้องรอลงทุนซื้ออุปกรณ์ราคาแพง เมื่อเริ่มมีผู้ติดตาม มีฝีมือมากขึ้น หรือเริ่มมีรายได้แล้ว จึงเริ่มลงทุนกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเริ่มจ้างทีมงาน

LV4

คุณภาพต้องมาก่อน ควรคำนึงถึงการทำวิดีโอออกมาให้มีคุณภาพมากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอ คุณภาพสำคัญกว่าจำนวนวิดีโอ เพราะหากผลิตวิดีโอออกมาจำนวนมากแต่ไม่มีคุณภาพก็จะไม่มีผู้รับชม แต่หากตั้งใจผลิตวิดีโอให้มีคุณภาพ ถึงแม้จำนวนวิดีโอจะไม่มากแต่ทำให้มีจำนวนผู้รับชมจำนวนมาก และค่อยๆ ใช้เวลาในการสร้างฐานจำนวนผู้ติดตาม วิดีโอที่มีคุณภาพและ Gamecaster ที่นำเสนอเนื้อหาคุณภาพ จะมีผู้ติดตามรับชมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า แต่ถ้าเป็นวิดีโอที่สอดแทรกเรื่องราวที่น่าสนใจก็ยังไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าถูกยัดเยียดขายของ

jump
LV4

คุณภาพต้องมาก่อน ควรคำนึงถึงการทำวิดีโอออกมาให้มีคุณภาพมากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอ คุณภาพสำคัญกว่าจำนวนวิดีโอ เพราะหากผลิตวิดีโอออกมาจำนวนมากแต่ไม่มีคุณภาพก็จะไม่มีผู้รับชม แต่หากตั้งใจผลิตวิดีโอให้มีคุณภาพ ถึงแม้จำนวนวิดีโอจะไม่มากแต่ทำให้มีจำนวนผู้รับชมจำนวนมาก และค่อยๆ ใช้เวลาในการสร้างฐานจำนวนผู้ติดตาม วิดีโอที่มีคุณภาพและ Gamecaster ที่นำเสนอเนื้อหาคุณภาพ จะมีผู้ติดตามรับชมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า แต่ถ้าเป็นวิดีโอที่สอดแทรกเรื่องราวที่น่าสนใจก็ยังไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าถูกยัดเยียดขายของ

LV3

อย่ารีรอ ทำเลย เมื่อคิดที่จะทำแล้วก็ให้เริ่มลงมือทำเลย ถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะยังไม่ครบ แต่หากต้องการเริ่มต้น สามารถเริ่มจากการใช้สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่โดยไม่ต้องรอลงทุนซื้ออุปกรณ์ราคาแพง เมื่อเริ่มมีผู้ติดตาม มีฝีมือมากขึ้น หรือเริ่มมีรายได้แล้ว จึงเริ่มลงทุนกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเริ่มจ้างทีมงาน

LV2

วางกลยุทธ์ วางรูปแบบการนำเสนอ Gamecaster จำเป็นต้องคิดเนื้อหา (Content) หรือรูปแบบการนำเสนอคลิปวิดีโอว่า จะพูดอะไรกับผู้ชม จะให้ผู้ชมได้เห็นหรือรับรู้เรื่องราวแบบใด จะทำคลิปออกมาแนวไหน และจะเล่นเกมอะไรเพื่อเป็นสื่อกลาง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สร้างเนื้อหาในรูปแบบที่ชอบและถนัด ที่สุดในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจจะศึกษาสไตล์การทำคลิปวีดิโอของ Gamecaster คนอื่น แล้วนำเทคนิคมาปรับใช้ก็ได้

LV1

ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ก่อนที่จะทำคลิปวิดีโอ ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องเกมและค้นหาประเด็นเกี่ยวกับเกมที่ตัวเองสนใจจะใช้เป็นเนื้อหา ซึ่งสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจากอินเทอร์เน็ตหรือจาก Youtube จากทั้งของไทยและต่างประเทศ เพราะจะได้รับความรู้จากเนื้อหาที่หลากหลายและครอบคลุมมากกว่า เช่น บางครั้งอาจจะนำสไตล์จากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับการสร้างวิดีโอของตัวเอง

แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน

จะเห็นได้ว่าอาชีพ Gamecaster มีทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะทางด้านภาษา การสื่อสาร ซึ่งควรศึกษาการใช้ภาษาที่ถูกต้องและสื่อความหมายชัดเจน รวมไปถึงการใช้ภาษาต่างประเทศ และทักษะด้านการตัดต่อวิดีโอ โดยศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการลำดับเรื่องราวและเทคนิคการตัดต่อวิดีโอให้น่าสนใจ

• ด้านภาษาและการสื่อสาร

- คณะอักษรศาสตร์

    - คณะศิลปศาสตร์

      - คณะนิเทศศาสตร์

      • ภาควิชาการสื่อสารมวลชน

      • ภาควิชาการประชาสัมพันธ์

      • ด้านการตัดต่อวิดีโอ

      - คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์

      • สาขาวิชาภาพยนตร์

      • สาขาวิชาสื่อดิจิทัล

      - คณะนิเทศศาสตร์

      • สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง

      job-detail-recommend-img