นักพากย์การแข่งขันเกม

(Shout Caster)

job-detail-main-img

นักพากย์การแข่งขันเกม

คือ ผู้บรรยายหรือพากย์การแข่งขันเกมอีสปอร์ต โดยที่ไม่ได้เป็นผู้ที่กำลังแข่งขันในเกมนั้น ซึ่งหน้าที่หลักจะเหมือนกับนักพากย์กีฬาประเภทอื่นๆ เช่น การพากย์ฟุตบอลหรือมวย โดยทำหน้าที่บรรยายเกมการแข่งขัน วิเคราะห์วิจารณ์เทคนิคการเล่นของแต่ละทีม รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการแข่งขัน เพื่อให้ผู้ชมได้รับอรรถรสในการรับชม รวมทั้งสร้างให้เกิดอารมณ์ร่วม ความสนุกสนาน และมีความเข้าใจในระหว่างรับชมมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพสำคัญที่ช่วยสร้างสีสันให้กับวงการเกมและอีสปอร์ต

คุณสมบัติและทักษะ (Skill)

กว่าจะมาเป็น Shoutcaster ที่มีความเป็นมืออาชีพ สามารถบรรยายได้ลึกซึ้งถึงกลยุทธ์ในการแข่งขันและสร้างความสนุกตื่นเต้นให้กับผู้รับชมได้ตลอดการแข่งขัน จะต้องมีคุณสมบัติและทักษะ ดังนี้

job-detail-skill-img1
ทักษะการสื่อสารที่เป็นเลิศ

ข้อนี้สำคัญที่สุด เพราะจำเป็นต้องใช้ทักษะด้านภาษาและน้ำเสียงในการสื่อสารกับผู้ชม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการพากย์หรือบรรยายเกมการแข่งขันแบบถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมจำนวนมาก Shoutcaster ต้องเลือกใช้คำพูดนำเสนอเรื่องราวต่างๆ อย่างชัดเจน ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ชมที่กำลังชมการแข่งขัน คล้ายคลึงกับการพากย์ฟุตบอลนั่นเอง

job-detail-skill-img1
แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทักษะนี้เกี่ยวข้องอะไร เหตุผลหลักคือ Shoutcaster ต้องพากย์เกมการแข่งขันถ่ายทอดสด ซึ่งอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น สัญญาณภาพไม่เสถียร ไฟดับ หรือเหตุการณอื่นๆ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นและไม่ทันได้เตรียมตัว ทำให้ผู้ที่เป็น Shoutcaster ต้องทำหน้าที่ควบคุมสถานการณ์และสื่อสารให้ผู้ชมได้เข้าใจ

job-detail-skill-img1
มีความเข้าใจเกี่ยวกับเกม

อาชีพนี้ต้องรู้จักและมีความเข้าใจในหลากหลายประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทั้งหมดของเกมและการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับนักกีฬา ประวัติความเป็นมาของทีมหรือสโมสร สไตล์การแข่งขัน รวมไปถึงเทคนิคต่างๆ หรือสามารถวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของนักกีฬาแต่ละคนได้ ซึ่งหากมีความรู้ทั้งหมดนี้ก็จะสามารถหยิบยกประเด็นต่างๆ มาใช้เวลาที่พากย์การแข่งขันได้อย่างสร้างสรรค์และน่าเชื่อถือ

บุคลิกลักษณะ (Character)

job-detail-character-img

เป็นตัวของตัวเอง ดึงความเป็นธรรมชาติของตัวเองออกมา สร้างจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

กล้าแสดงออก กล้าแสดงความสามารถต่อผู้ชมจำนวนมาก

มีความมั่นใจในตัวเอง มั่นใจในสิ่งที่นำเสนอ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน

รู้จักกาลเทศะ ใช้คำพูด น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมระหว่างพากย์เกม

วางตัวอย่างเหมาะสมบนโซเชียลมีเดีย อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ

บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)

พากย์เกมการแข่งขัน

ระยะเวลาระหว่าง 30 นาทีไปจนถึงมากกว่า 3 ชั่วโมง

เล่นเกม

เพื่ออัปเดตข้อมูลให้เข้าใจบริบทและหลักการของเกมมากขึ้น

ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเกม

ติดตามข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน

job-detail-role-img
รายได้ (Income)

รายได้เฉลี่ย 50,000-150,000 บาทต่อเดือน รายได้โดยเฉลี่ยของอาชีพนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ และความมีชื่อเสียงของแต่ละคน

  1. เรทครึ่งวัน เฉลี่ยอยู่ที่ 3,000-6,000 บาท
  2. เรทรายวัน เฉลี่ยอยู่ที่ 7,000-10,000 บาท
  3. เรทรายเดือน อาจได้รับเป็นเงินเดือน ขึ้นอยู่กับบริษัทต้นสังกัด

นอกจากนี้ ยังมีงานเสริมที่เพิ่มรายได้เข้ามา เช่น การรับงานรีวิวเกมหรือสินค้าประเภทต่างๆ งนี้ ยังสามารถแบ่งรายได้ของ Shoutcaster ได้จากประเภทของการจ้างงาน คือ พนักงานประจำ (full time) และรับงานอิสระ (freelance)

  1. พนักงานประจำ (full time) ได้รับรายได้เป็นประจำทุกเดือน รวมถึงมีสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม วันหยุดพักร้อน เช่นเดียวกับพนักงานบริษัททั่วๆ ไป จุดที่ทำให้หลายคนพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นพนักงานประจำคือ ความอิสระในการเลือกงานและเวลาการทำงาน เพราะต้องปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท เช่น เวลาการเข้าออกงาน พากย์เกมการแข่งขันเพียงบางเกมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมเช่นเดียวกับพนักงานบริษัททั่วไป
  2. รับงานอิสระ (freelance) มีความอิสระและความยืดหยุ่นเกี่ยวกับจำนวนและระยะเวลาในการทำงาน แต่ต้องมีการบริหารจัดการเวลาให้ดี รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่รับและข้อตกลงกับผู้ว่าจ้างในแต่ละงาน มีอิสระในการเลือกพากย์เกมที่หลากหลายได้ตามความสนใจ

คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ

LV1

สลัดความเขินอายออกไป อาชีพนี้ต้องอยู่หน้ากล้อง มีการตัดภาพสลับกันระหว่างเกมการแข่งขันและใบหน้าของนักพากย์ จึงไม่ควรที่จะอายหรือเขินกล้อง ควรฝึกฝนการพูดในที่สาธารณะให้เกิดความคุ้นเคยและเกิดความลื่นไหลในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับชม

LV2

เพิ่มความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเป็นกระจกสะท้อนให้ผู้ชมเกิดความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ถูกบอกเล่าโดยนักพากย์ด้วย โดยต้องมีความมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลที่มีเสียก่อน ด้วยการศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง

LV3

ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง Shoutcaster เป็นอาชีพที่ต้องรู้จักและเข้าใจเกมหรืออีสปอร์ตที่จะพากย์เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ บอกเล่าให้ผู้ชมได้รับฟัง การมีความรู้ที่หลากหลายจะทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการทำงานและสามารถอยู่ในวงการได้อย่างยาวนาน

jump
LV3

ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง Shoutcaster เป็นอาชีพที่ต้องรู้จักและเข้าใจเกมหรืออีสปอร์ตที่จะพากย์เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ บอกเล่าให้ผู้ชมได้รับฟัง การมีความรู้ที่หลากหลายจะทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการทำงานและสามารถอยู่ในวงการได้อย่างยาวนาน

LV2

เพิ่มความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเป็นกระจกสะท้อนให้ผู้ชมเกิดความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ถูกบอกเล่าโดยนักพากย์ด้วย โดยต้องมีความมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลที่มีเสียก่อน ด้วยการศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง

LV1

สลัดความเขินอายออกไป อาชีพนี้ต้องอยู่หน้ากล้อง มีการตัดภาพสลับกันระหว่างเกมการแข่งขันและใบหน้าของนักพากย์ จึงไม่ควรที่จะอายหรือเขินกล้อง ควรฝึกฝนการพูดในที่สาธารณะให้เกิดความคุ้นเคยและเกิดความลื่นไหลในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับชม

ในปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพ Shoutcaster ยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย บางคนจึงอาจคิดว่าโอกาสในอาชีพนี้จะน้อยตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีจำนวนงานรองรับอยู่มาก โดยดูได้จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกมและจำนวนผู้เล่นเกมที่มีเพิ่มมากขึ้น หากมีความสามารถและทักษะตามข้างต้น และมีความสนใจด้านเกมจริงๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูสู่โลกของอาชีพ Shoutcaster

แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน

ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรในการพากย์การแข่งขันเกมโดยตรง แต่สาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพนี้ ได้แก่ สาขาทางด้านสื่อสารมวลชน แน่นอนว่าการเป็น Shoutcaster จะต้องทำงานผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์อย่าง Facebook Youtube หรือโทรทัศน์ ซึ่งการที่ได้เรียนในสาขานี้โดยตรง จะทำให้ได้เปรียบในเรื่องของการพูดในที่สาธารณะอย่างมีลำดับขั้นตอน เข้าใจถึงการทำงานและวิธีการในการถ่ายทอดสด และสาขาทางด้านภาษา การเรียนในสาขานี้มีส่วนช่วยในเรื่องการพูด การเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม การใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการพากย์การแข่งขันเกมระดับนานาชาติในต่างประเทศอีกด้วย

• ด้านสื่อสารมวลชน

- คณะนิเทศศาสตร์

    - คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

      - คณะมนุษยศาสตร์

      • ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

      - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

        • ด้านภาษา

        - คณะอักษรศาสตร์

          - คณะศิลปศาสตร์

            job-detail-recommend-img